งบดุล

รับทำบัญชี.COM | บัญชีงบดุลงบแสดงฐานะการเงิน มีอะไร Excel?

Click to rate this post!
[Total: 95 Average: 5]

งบดุล

งบดุล คือ

งบดุล คือ (Balance sheet) เป็นงบการเงินที่แสดงสถานะทางการเงินของกิจการ เช่น จำนวนสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนทุนของเจ้าของ โดยงบดุลจะถูกจัดทำขึ้นและส่งมอบต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ณ วันสิ้นรอบบัญชีที่กำหนดไว้ เช่น 3 เดือน , 6 เดือน หรือ 1 ปี

งบดุลแสดงอะไร

งบดุล เป็นรายงานที่แสดงให้ทราบถึงฐานะทางการเงินของบุคลหรือกิจการ ณ ช่วงเวลาหนึ่งตามวันที่ที่ระบุในรายงาน งบดุลจึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการตรวจสุขภาพของกิจการ เพราะจะแสดงให้เห็นว่ากิจการมีสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนลงทุนของเจ้าของกิจการเหลืออยู่เท่าไหร่ ซึ่งเป็นเครื่องบ่งบอกถึงสภาพความมั่นคง สภาพหนี้สินและสภาพคล่องของกิจการ

อย่างไรก็ตามการมีความรู้สำหรับอ่านและวิเคราะห์งบดุลได้ ไม่ใช่เรื่องจำเป็นสำหรับนักลงทุนหรือเจ้าของกิจการเท่านั้น ประชาชนทั่วไปก็ควรมีความรู้เบื้องต้นเหล่านี้เพราะเป็นพื้นฐานทางการเงินที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้จัดการสถานะการเงินของบุคคลได้เช่นกัน ดังนั้นบทความนี้จึงรวบรวมสาระสำคัญเบื้องต้นของรายงานงบดุลที่คุณควรรู้ ดังนี้

งบดุลคืออะไร
โครงสร้างทางการเงินของกิจการทุกกิจการ จะประกอบไปด้วยสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนทุนของเจ้าของกิจการ ซึ่งทั้งหมดนี้จะถูกรายงานด้วยงบดุล (Balance Sheet) ของกิจการ โดยกฏหมายบังคับให้ธุรกิจที่เป็นนิติบุคคลทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นบริษัทจำกัด บริษัทมหาชน ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ต้องจัดทำงบดุลอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งและทำการยื่นแสดงต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทุกปี

งบดุล (Balance Sheet) หมายถึง งบแสดงฐานะทางการเงินของธุรกิจ ณ วันใดวันหนึ่งตามหลักการบัญชีที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ซึ่งจะแสดงให้ทราบว่ามีสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ จำนวนเท่าใด รายละเอียดการแสดงสินทรัพย์ในงบดุลจะเรียงตามสภาพคล่อง
โดยเงินสดจะมีสภาพคล่องสูงที่สุดเพราะสามารถจ่ายชำระหนี้ได้เร็วกว่า สินทรัพย์อื่นกฎหมายบังคับว่าจะต้องจัดทำงบ ดุลขึ้นมาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เมื่อสิ้นสุดปีการเงิน (ปีการเงินของแต่ละกิจการอาจไม่ตรงกับปีปฏิทินก็ได้ เช่น ปีการเงินอาจเริ่มตั้งแต่ 1 มีนาคม สิ้นสุด 28 กุมภาพันธ์ ในขณะที่ปีปฏิทินเริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม สิ้นสุด 31 ธันวาคม ของทุกปี) ทั้งนี้เพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถประเมินและจัดเก็บภาษีได้
อย่างไรก็ตาม กิจการบางแห่งอาจจะจัดทำงบดุลเพื่อแสดงฐานะการเงินทุกวันสิ้นเดือนก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้รายงานของกิจการนั้น ๆ งบดุลของกิจการใดก็จะแสดงเฉพาะฐานะทางการเงินของกิจการนั้น ไม่เกี่ยวกับฐานะทางการเงินของผู้เป็นเจ้าของ ซึ่งผู้เป็นเจ้าของอาจจะมีสินทรัพย์ส่วนตัว เช่น เงินฝากธนาคาร บ้าน รถยนต์ หรือสินทรัพย์อื่น ๆ แต่สินทรัพย์ดังกล่าวถือเป็นสินทรัพย์ส่วนตัว อันนี้เป็นหลักข้อสมมติฐานหรือแนวคิดของการรายงานที่ถือว่า กิจการแยกต่างหากจากผู้เป็นเจ้าของ (The business entity) งบดุลจะแสดงการใช้เงินทุนของบริษัทเพื่อสรรหาทรัพยากรที่จำเป็นต่อการประกอบธุรกิจ สามารถเขียนเป็นสมการง่าย ๆ ดังนี้* สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของกิจการ(ทุน) หรือ* กิจกรรมลงทุน = กิจกรรมจัดหาเงินทุน
ซึ่งการจะจัดทำหรืออ่านงบดุลได้ต้องเข้าใจสมการความสัมพันธ์และความหมายของตัวแปรแต่ละตัวได้ ดังนี้
สมการของงบดุล คือ “ สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนทุนของเจ้าของกิจการ”

สินทรัพย์ หมายถึง ทรัพยากรที่อยู่ในความครอบครองของกิจการ ซึ่งกิจการสามารถนำทรัพยากรเหล่านี้ไปเปลี่ยนเป็นเงินทุนหมุนเวียนหรือชำระหนี้สินของกิจการในอนาคตได้ โดยทรัพยากรที่เรียกว่า ทรัพย์สิน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
สินทรัพย์หมุนเวียน คือ ทรัพยากรที่มีสภาพคล่องสูงสามารถขายเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว หรือสามารถแปลเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ภายใน 1 ปี เช่น “เงินฝากในธนาคาร , เงินลงทุนระยะสั้น (ลงทุนในหุ้น) , ลูกหนี้การค้า , สินค้าคงเหลือ , ตั๋วรับเงิน”
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน คือ ทรัพยากรที่มีสภาพคล่องต่ำ ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทันทีและต้องใช้เวลามากกว่า 1 ปีขึ้น เช่น “อาคารหรือตึกที่ประกอบกิจการ , เครื่องจักร , ที่ดิน”

หนี้สิน หมายถึง ทรัพยากรซึ่งเป็นภาระผูกพันของกิจการ ซึ่งเกิดขึ้นในอดีตและกิจการจะต้องชำระภาระผูกพันนี้ต่อเนื่องไปในอนาคต ซึ่งหนี้สินแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
หนี้สินหมุนเวียน คือ หนี้สินของกิจการระยะสั้นที่จะครบกำหนดชำระภายใน 1 ปี เช่น “เจ้าหนี้การค้า , เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร (O/D) , ตั๋วเงินจ่าย , ส่วนของหนี้สินระยะยาว (เงินกู้) ที่จะครบกำหนดภายใน 1 ปี”
หนี้สินไม่หมุนเวียน คือ หนี้สินระยะยาวที่ต้องใช้เวลาแบ่งชำระมากกว่า 1 ปี เช่น “หุ้นกู้  , เงินกู้ยืมธนาคารระยะยาว (มีสัญญาชำระมากกว่า 1 ปี)”

ส่วนทุนของเจ้าของกิจการ หรือเรียกว่าส่วนของผู้ถือหุ้น (ในกรณีกิจการมีเจ้าของมากกว่า 1คนหรือกิจการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์) ซึ่งประกอบไปด้วยทุนที่นำมาลงของเจ้าของกิจการและกำไรสะสม ซึ่งหากเกิดกรณียกเลิกกิจการผู้ถือหุ้นสามารถเรียกร้องจำนวนเงินนี้ได้แต่ต้องหลังจากนำไปหักกับหนี้สินของกิจการ
ซึ่งหากวิเคราะห์จากสมการงบดุล  “ สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนทุนของเจ้าของกิจการ” จะเห็นได้ว่า สินทรัพย์ทั้งหมดของกิจการที่เกิดขึ้น เกิดจากเงินทุน 2 ตัว คือ เงินทุนจากการสร้างหนี้สิน เช่น การกู้ยืมจากสถาบันการเงิน และเงินทุนที่มาจากการลงทุนของเจ้าของกิจการ
ดังนั้น หากงบดุลรายงานว่ากิจการมีหนี้สิน > ส่วนทุนของเจ้าของกิจการ หมายถึง สินทรัพย์ที่เกิดขึ้น เกิดมาจากการสร้างหนี้เป็นส่วนใหญ่ เช่น การกู้เงินจากธนาคารมาซื้อเครื่องจักร มาสร้างอาคาร โรงงาน เป็นต้น ทำให้กิจการดังกล่าวมีสภาพคล่องน้อย ในขณะเดียวกัน หากส่วนทุนของเจ้าของกิจการ > หนี้สิน หมายถึงกิจการมีกำไรสะสมหรืออาจมีการเพิ่มทุนจากเจ้าของกิจการเพื่อลงทุนขยายกิจการ บ่งบอกการมีสภาพคล่องที่ดีและการเติบโตของกิจการ
อย่างไรก็ตาม ในบทความนี้เป็นเพียงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงบดุลที่ทุกคนจำเป็นต้องรู้ ซึ่งงบดุลยังมีรายละเอียดที่เป็นประโยชน์โดยละเอียดอีกมากและจำเป็นต้องอาศัยความชำนาญในการศึกษา ดังนั้นการฝึกอ่านงบการเงินบ่อยๆ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ ก็จะช่วยให้เราสามารถใช้งบดุลได้เป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น

ประเภทของงบดุล งบดุลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. งบดุลแบบบัญชี (Accounting Form)งบดุลแบบบัญชีจะใช้ฟอร์มที่มีลักษณะคล้ายตัว T แบ่งออกเป็น 2 ด้าน ทางด้านซ้ายมือจะแสดงรายการของสินทรัพย์ ส่วนด้านขวามือจะแสดงรายการของหนี้สินและส่วนของเจ้าของขั้นตอนในการจัดทำงบดุลแบบบัญชี มีดังนี้
ขั้นที่ 1 เขียนหัวงบดุล 3 บรรทัด ประกอบด้วย บรรทัดที่ 1 เขียนชื่อกิจการ บรรทัดที่ 2 เขียนคำว่า “งบดุล” บรรทัดที่ 3 เขียนวัน เดือน ปี ที่จัดทำงบดุล
ขั้นที่ 2 ทางด้านซ้ายมือให้เขียนรายละเอียดของสินทรัพย์แสดงรายการต่าง ๆ ของสินทรัพย์ที่กิจการมีอยู่
ขั้นที่ 3 ทางด้านขวามือให้เขียนรายละเอียดของหนี้สินและส่วนของเจ้าของที่กิจการมีอยู่
ขั้นที่ 4 รวมยอดทั้ง 2 ด้านให้เท่ากันและอยู่ในระดับเดียวกัน
2. งบดุลแบบรายงาน (Report Form) ขั้นตอนในการจัดทำงบดุลแบบรายงาน มีดังนี้
ขั้นที่ 1 เขียนหัวงบดุล 3 บรรทัด คือ บรรทัดที่ 1 เขียนชื่อกิจการ บรรทัดที่ 2 เขียนคำว่า “งบดุล” บรรทัดที่ 3 เขียนวัน เดือน ปี ที่จัดทำงบดุล
ขั้นที่ 2 คือตอนบน ให้เขียนคำว่า “สินทรัพย์” และเขียนรายละเอียดต่าง ๆ ของสินทรัพย์ที่กิจการมีอยู่แล้วรวมยอดทั้งหมดของสินทรัพย์
ขั้นที่ 3 เขียน คำว่า “หนี้สินและส่วนของเจ้าของ” ต่อจากสินทรัพย์ให้แสดงรายการที่เป็นหนี้สินก่อนและตามด้วยรายการที่เป็น ส่วนของเจ้าของ แล้วรวมยอดทั้งหมดของหนี้สินและส่วนของเจ้าของซึ่งจะมียอดเท่ากับสินทรัพย์

งบดุล คือ
งบดุล คือ

Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)

We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.

We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.

Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.

Contact : 084-343-8968 ( Chaniyada )